วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีการสอน วิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ


Classroom > teacher >student >building > materials
หน้าที่ของครู
-ถ่ายทอดความรู้
-ที่ปรึกษา
-ทำงานเพื่อสังคม
-ผู้ประเมิน
-ผู้จัดการ
-ผู้คุม
การจัดห้องเรียน
-รูปตัว L
-รูปตัว U
-รูปวงกลม
-จัดรูปแบบต่างๆ ไม่ปกติ






 (ประวัติโดยย่อของการสอนภาษา) 
   เมื่อ 500 ปีก่อน มีการใช้ภาษาละติน แต่ไม่นานก็ถูกแทนที่ด้วยภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาลี
#ภาษาละตินใน Grammar school จะเน้นแกรมม่า สอนแบบท่องจำ การจำคำกริยา การเขียนประโยคตัวอย่าง ประโยคฝึกอ่าน ซึ่งความสำคัญของภาษาละติน คือ พัฒนาความสามารถทางสมอง

grammar translation method จะเน้นไวยากรณ์ในการใช้ประโยค การสอนแกรมม่ามี 2 วิธี คือ deductive, inductive
เพื่อพัฒนาสติปัญญา เน้นการอ่านการเขียน ไม่เน้นการฟังการพูด



Grammar translation method 

= มีการสอนคำศัพท์ , อ่าน-ตอบคำถาม ,ประเมินตรวจการบ้าน, ท่องศัพท์ ,เขียน -แปล ,เติมคำในช่องว่าง, การใช้คำวนประโยค , เขียนความเรียง
ก่อนยุคปฏิรูป
-เด็ก ๆ ใช้บริบทและสถานการณืเพื่อตีความคำพูด มาใช้ในชีวิตประจำวัน
-การเรียงโครงสร้างประโยค
-เน้นการสอนสิ่งใหม่ ๆ ใช้ภาษาท่าทางเพื่อนำเสนอความหมาย
-สอนตรงๆ แบบไม่แปล ไม่อธิบาย แต่จะเน้นการเชื่อมโยงของประโยค
-เชื่อมโยงให้ได้ภาษาเป้าหมายมากกว่าภาษาแม่

The direct method


         การ สอนแบบตรงเป็นวิธีแรกหลังจากเกิดการปฏิรูปทางด้านการสอนภาษาต่างประเทศ เนื่องจากนักภาษาศาสตร์เห็นว่าวิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปลมิได้ช่วยให้ผู้ เรียนพัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการสอนแบบตรง คือมุ่งให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อการติดต่อสื่อสาร บทเรียนส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยกิจกรรมที่เป็นบทสนทนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ
ผู้เรียนจะ ถูกกระตุ้นให้ใช้ภาษาต่างประเทศที่กำลังเรียนอยู่ตลอดเวลา โดยไม่มีการใช้ภาษาของผู้เรียนเลย เวลาสอนผู้สอนจะพยายามสร้างสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ให้เหมือนสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศ ผู้สอนจะใช้ภาษาต่างประเทศตลอดเวลา ไม่มีการเน้นสอนไวยากรณ์จะไม่มีการบอกกฎไวยากรณ์อย่างชัดเจน แต่การเรียนรู้ไวยากรณ์จะเรียนรู้อยากตัวอย่างและการใช้ภาษา แล้วสรุปกฎเกณฑ์ ถึงแม้จะมีการฝึกทักษะทั้ง คือ ฟัง-พูด อ่าน เขียน แต่การฝึกทักษะพูดเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดทักษะอ่าน และเขียนจะมีพื้นฐานมาจากการพูดก่อน วิธีสอนแบบนี้เน้นการรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของผู้พูดภาษา

ใช้ภาษาเป้าหมายเท่านั้น
ผู้เรียนจะถูกฝึกให้ใช้ภาษาเป้าหมายที่เป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน
ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้คิดเป็นภาษาเป้าหมาย
ทักษะแรกที่เน้นคือทักษะพูดแล้วจึงพัฒนาทักษะอ่าน




Audiolingual method



        วิธีการสอนแบบฟัง-พูด เป็นวิธีที่เน้นทักษะพูดและฟัง ลักษณะสำคัญของวิธีสอนนี้คือ       
 ทักษะพูดและทักษะฟัง เป็นทักษะที่ต้องพัฒนาก่อนทักษะอ่าน และเขียน       
ไม่สนับสนุนการใช้ภาษาที่หนึ่งในชั้นเรียน       
ทักษะทางภาษาเป็นรูปแบบที่ตายตัวดังนั้นควรฝึก pattern ของภาษาที่เป็นรูปบทสนทนา(dialogue) เกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ภาษาได้โดยอัตโนมัติ เพราะวิธีสอนแบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นในระหว่างช่วงสงคามโลกครั้งที่ 2 จากความจำเป็นที่ทหารจะต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปใช้ในช่วงที่ทำการรบในต่างประเทศ วิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปลที่ใช้แต่เดิมนั้นไม่สามารถช่วยให้พูดภาษาต่างประเทศได้ ในช่วงเวลานั้น 
                 บทเรียนทั้งหลายเป็นบทสทนา ,มีการท่องจำ, โครงสร้างจะถูกเรียงโดยการวิเคราะห์ , ฝึกซ้ำๆ โครงสร้างไวยากรณ์ , แกรมม่าจะสอนแบบดูตัวอย่างก่อนดูโครงสร้างประโยค, คำศัพท์จะอยู่ในสถานการณ์ที่เรียน , ใช้ภาษาแม่น้อยมาก


The silent way



                           วิธีสอนแบบเงียบเป็นวิธีสอนที่ริเริ่มโดย Caleb Gattegno ในปี ค.ศ. 1963 วิธีสอนแบบนี้มิได้เกิดจากวิธีสอนแบบความรู้ความเข้าใจ แต่มีบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น หลักการพื้นฐานที่ว่า "การสอนเป็นรองการเรียน" เป็นหลักการที่เน้นความรู้ความเข้าใจ เน้นให้ผู้เรียนคิดเองใช้ความสามารถของตนเองครูเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ผู้เรียนจะต้องพยายามนำสิ่งที่ตนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และต้องจดจ่ออยู่กับบทเรียนตลอดเวลา ในระยะเริ่มเรียนผู้สอนจะสอนเสียงซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ของภาษาทุกภาษา ผู้สอนจะใช้แผนภูมิเสียงและสีมาช่วยในการเรียนการสอนและอาศัยความรู้เกี่ยวกับ เสียงในภาษาแม่มาเชื่อมโยงกับเสียงในภาษาใหม่ที่เรียน และยังใช้ความรู้เกี่ยวกับสีมาช่วยในการเรียนคำศัพท์ตลอดจนการอ่านออกเสียงคำเหล่านั้น จากนั้นผู้สอนจะสร้างสถานการณ์ที่ดึงความสนใจของผู้เรียนไปยังโครงสร้างของภาษาสถานการณ์จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายด้วย ส่วนใหญ่แล้วสถานการณ์หนึ่งจะเน้นการสอนโครงสร้างเดียวเท่านั้น ผู้สอนจะเป็นฝ่ายเงียบ แต่ขณะเดียวกันเป็นผู้สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้คิด ผู้สอนจะพูดเมื่อทำเป็นต้องชี้ทางในการแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียนส่วนผู้เรียนนั้นต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เรียนรู้จากกันและกัน          
วิธีการสอนแบบเงียบ ๆ (ครูเงียบ เด็กพูด)
ผู้เรียนต้องรับผิดชอบการเรียนของตนเอง ต้องการมีการตั้งสมมติฐาน เด็กจะเรียนรู้ได้จากการค้นพบดีกว่าการท่องจำ ,เด็กจะเกิดได้นั้นต้องมีสื่อมาส่งเสริม , เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ในสิ่งที่เด็กเรียน ,ครูจะสอนการออกเสียงเล็กน้อย และจากนั้นนักเรียนสามารถคิดและเรียนรู้ด้วยตนเอง




Suggestopedia



 การเรียนรู้ภาษาเกิดได้อย่างรวดเร็ว มากกว่าการเรียนอื่นๆ แต่โดยธรรมชาติแล้ว นักเรียนจะปิดกั้นตนเอง กลัวและไม่กล้าแสดงออก ต้องจัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้ผ่อนคลาย ถ้านักเรียนเชื่อใจและยอมรับในตัวครู นักเรียนจะยอมรับข้อมูลได้ดีเลยทีเดียว
หลักการคือ ครูต้องพยายามสร้างให้นักเรียนเชื่อมั่น ไม่กลัว , สร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน , แปลภาษาแม่ให้นักเรียนเข้าใจความหมาย , จะต้องมีการบูรณาการบ้าง ,ครูจะต้องรับฟังข้อผิดพลาดของนักเรียน
วิธีการสอนนี้ครูจะต้องสอนแบบหลากหลาย ให้นักเรียนทำกิจกรรม เช่น ร้องเพลง , เกม และแสดงละคร เพื่อให้ได้เรียนรู้ต่าง ๆ




Community language learning


                 การสอนแบบนี้คิดขึ้นใน ปี 1970 โดย Charles A. Curran ศาตราจารย์สาขาจิตวิทยาแนะแนวแห่งมหาวิทยาลัยLoyola, Chicago Curran ประยุกต์แนวคิดนี้มาจากเทคนิคการแนะแนวครูจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา และพยายามที่จะคอยสนองความต้องการในการใช้ภาษาของผู้เรียนเหมือนกับผู้เรียนเป็นผู้มารับคำปรึกษา บรรยากาศในห้องเรียนจัดเหมือนกับชุมชน (community) เน้นให้ทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กระบวนการเรียนภาษาจะเปรียบเหมือนกับการเจริญเติบโตของมนุษย์เริ่มจากทารกที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จนกระทั่งถึงขึ้นที่เป็นอิสระหรือเป็นผู้ใหญ่การช่วยเหลือแต่ละขั้นของครูจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เรียน          
 การสอนแบบนี้ส่วนมากจะไม่มีแผนการเรียนที่ชัดเจนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เรียน โดยปกติแล้วการเรียนการสอนครูจะให้ผู้เรียนพูดแสดงความรู้สึกเป็นภาษาของผู้เรียน แล้วครูจะแปลหรือตีความที่นักเรียนพูดให้ทั้งชั้นฟังบรรยากาศชั้นเรียนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนภาษา และเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียน 
               กิจกรรมการเรียนการสอนวิธีนี้มีดังนี้         
1. การแปล (translation) ผู้เรียนนั่งเป็นวงกลม ผู้เรียนพูดข้อความที่ต้องการจะแสดงความคิดหรือความรู้สึก ผู้สอนแปล ข้อความนั้นผู้เรียนพูดตามผู้สอน         
 2. การทำงานกลุ่ม (group work) บางครั้งผู้สอนจะให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีการกำหนดหัวข้อแล้วร่วมกันอภิปรายช่วยกันเตรียมบทสนทนา เตรียมเรื่องที่จะพูดหน้าชั้น เป็นต้น         
3. การบันทึกเสียง (recording) นักเรียนจะบันทึกเสียงของคนในขณะที่พูดภาษาเป้าหมาย         
4. ถอดความ (transcription) นักเรียนถอดคำพูดหรือบทสนทนาที่บันทึกไว้ สำหรับฝึกและวิเคราะห์โครงสร้างภาษา         
5. วิเคราะห์ (analysis) นักเรียนศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างภาษาความหมายของคำวลีประโยค ที่ถอดจากเทป         
6. สะท้อนกลับ/ตั้งข้อสังเกต (reflection/observation) ผู้เรียนรายงานความรู้สึกและประสบการณ์และอื่น ๆ         
7. การฟัง (listening) นักเรียนฟังครูอ่านบทสนทนา         
8. สนทนาอย่างอิสระ (free conversation) นักเรียนสนทนากับครูกับเพื่อน อาจเป็นการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และอื่น ๆ  
              เป็นการดูผู้เรียนทั้งหมด คำนึงถึงความรู้สึก สติปัญญา แต่ก็ต้องเข้าใจความต้องการและความถนัดของผู้เรียนด้วย          ครูจะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษา ครูที่เข้าใจนักเรียนจะต้องยอมรับนักเรียนได้ ต้องมีแรงกระตุ้นด้านบวกให้กับนักเรียน คำพูดต่างๆ ของผู้เรียนจะถูกถอดออกมาเป็นภาษาแม่ เมื่อพวกเขาใช้สื่อสารกัน นักเรียนสามารถใช้ภาษาเป้าหมายได้อย่างอิสระ ท้ายชั่วโมงเรียน ให้นักเรียนคุยกับเกี่ยวกับการเรียนและความรู้สึก


Total Physical Response

การสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง

                  การสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางนี้คิดขึ้นมาโดย James Asher ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาชาวอเมริกัน วิธีสอนแบบนี้อิงแนวคิดที่ว่า การสื่อความหมายของภาษาต่างประเทศ อาจทำได้โดยการปฏิบัติ หรือใช้กริยาอาการประกอบ ผู้เรียนจะจำได้ดี ถ้าได้ปฏิบัติหรือแสดงการโต้ตอบด้วยการเรียนภาษาควรเรียนกลุ่มคำที่มีความหมายไม่ใช่การเรียนคำโดด ๆ เน้นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียนผู้เรียนควรได้รับการฝึกฟังให้เข้าใจก่อนที่จะฝึกพูด ผู้เรียนจะเริ่มพูด เมื่อพร้อมที่จะพูดผู้เรียนจะเรียนรู้ภาษาจากการสังเกตและการกระทำของผู้อื่นและจากการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง การที่ผู้เรียนรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จในการเรียนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปได้ดียิ่งขึ้น การแก้ไขเมื่อผู้เรียนทำผิดจึงควรทำอย่างนุ่มนวล ไม่โจ่งแจ้งโดยผู้สอนอาจพูดซ้ำ หรือปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่างการแก้ไขในรายละเอียดอาจต้องชะลอไว้จนกว่าผู้เรียนจะอยู่ในระดับสูงขึ้น          
                  จุดมุ่งหมายของวิธีสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียนภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร และกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ต่อไปหลังจากเรียนในระดับเริ่มต้นแล้ว ในระยะแรกของการเรียนการสอนผู้เรียนไม่ต้องพูดแต่ฟังและทำตามผู้สอน ผู้สอนเป็นผู้กำกับพฤติกรรมของผู้เรียนทั้งหมด ผู้เรียนเป็นผู้เลียนแบบการกระทำของผู้สอนโดยผู้สอนออกคำสั่งให้ผู้เรียน 2-3 คน ปฏิบัติตามผู้สอนปฏิบัติตามคำสั่งนั้นด้วย จากนั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งต่าง ๆ ของผู้สอน หลังจากที่เรียนโดยปฏิบัติตามคำสั่งแล้วระยะหนึ่งเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะพูดก็จะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง แล้วจะเรียนอ่านและเขียนต่อไป ผู้สอนได้สื่อกับผู้เรียนทั้งชั้น และเป็นรายบุคคล ส่วนผู้เรียนได้เรียนรู้จากการสังเกตดูเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ช่วยให้เข้าใจและจำได้ดี นอกจากนี้การให้ผู้เรียนพูด เมื่อพร้อมที่จะพูดช่วยลดความวิตกกังวลของผู้เรียน ทำให้การเรียนภาษาเป็นเรื่องน่าสนใจ สนุกและง่ายขึ้น ภาษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนเป็นภาษาพูด โดยเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ และคำศัพท์มากกว่าด้านอื่น ๆ โดยอิงอยู่กับประโยคคำสั่ง           
ทั้งนี้เพราะภาษาพูดที่ใช้กับเด็กวัยเรียนรู้ภาษานั้น ส่วนใหญ่เป็นประโยคคำสั่งความเข้าใจคำพูดที่ได้รับฟัง ควรมาก่อนการแสดงออก ภาษาพูดจึงได้รับการเน้นมากกว่าภาษาเขียน ผู้สอนอาจใช้ภาษาของผู้เรียนอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจการเรียนแบบนี้ก่อน หลังจากนั้นแทบจะไม่ได้ใช้ภาษาของผู้เรียนเลย เพราะผู้เรียนจะเข้าใจความหมายได้ชัดเจนจากการแสดงท่าทางอยู่แล้ว ผู้สอนสามารถที่จะทราบได้ทันทีว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่จากการสังเกตการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้เรียน ผู้สอนจะแก้ไขอย่างนุ่มนวล           





" Communicative Language Teaching "

                การสอนภาษาแบบสื่อสาร (Communicative Language Teaching - CLT) คือแนวคิดซึ่งเชื่อมระหว่างความรู้ทางภาษา (linguistic knowledge) ทักษะทางภาษา (language skill) และความสามารถในการสื่อสาร (communicative ability) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อสาร (Canale & Swain, 1980 ; Widdowson, 1978). คเนล และสเวน (1980) และเซวิกนอน (Savignon, 1982) ได้แยกองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารไว้ องค์ประกอบ ดังนี้
                      1. ความสามารถทางด้านไวยากรณ์หรือโครงสร้าง (grammatical competence) หมายถึงความรู้ทางด้านภาษา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ โครงสร้างของคำ ประโยค ตลอดจนการสะกดและการออกเสียง
                    2. ความสามารถด้านสังคม (sociolinguistic competence) 
หมายถึงการใช้คำ และโครงสร้างประโยคได้เหมาะสมตามบริบทของสังคม เช่น การขอโทษ การขอบคุณ การถามทิศทางและข้อมูลต่าง ๆ และการใช้ประโยคคำสั่ง เป็นต้น

                  3. ความสามารถในการใช้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อความหมายด้านการพูด และเขียน(discourse competence) หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมระหว่างโครงสร้างภาษา(grammatical form) กับความหมาย (meaning) ในการพูดและเขียนตามรูปแบบ และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
                4. ความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย (strategic competence) หมายถึงการใช้เทคนิคเพื่อให้การติดต่อสื่อสารประสบความสำเร็จโดยเฉพาะการสื่อสารด้านการพูด ถ้าผู้พูดมีกลวิธีในการที่จะไม่ทำให้การสนทนานั้นนั้นหยุดลงกลางคัน เช่นการใช้ภาษาท่าทาง(body language) การขยายความโดยใช้คำศัพท์อื่นแทนคำที่ผู้พูดนึกไม่ออก เป็นต้น



    



Content-base Instruction








                   จากประสบการณ์ทั้งด้านการสอนและการสังเกตพฤติกรรมการเรียนในห้องเรียนชี้ให้เห็นว่า การเรียนภาษาต่างประเทศจะได้ผลมากที่สุดถ้าครูสอนให้ผู้เรียนใช้ภาษาในสถานการณ์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ทั้งครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนภาษาที่ม่งุให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ จะจัดการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนฝึกการใช้ภาษาในสถานการณ์ที่เหมือนจริง ครูสอนภาษาต่างประเทศในประเทศไทยส่วนใหญ่สอนทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในระดับพื้นฐาน (Basic Interpersonal Communication Skills) ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนฝึกการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหน้าที่ (Functions) ในสถานการณ์ซึ่งครูจำลองให้เหมือนชีวิตประจำวันมากที่สุด เช่นการซื้อของ การถามหรือการบอกทิศทาง การแนะนำตัวเอง เป็นต้น การสอนลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสื่อสารได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น
ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจำนวนมากจะศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น ไม่ว่าจะศึกษาต่อในสาขาวิชาใดก็ตามผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (Academic English) เพื่อศึกษาหาความรู้และความก้าวหน้าทางวิทยาการ การสอนภาษาโดยเน้นเพียงการสื่อสารในชีวิตประจำวัน จึงไม่สามารถเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษาหาความรู้ต่อไป


                   การสอนแบบ CBI มุ่งเตรียมผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อหาความรู้ทางวิชาการเพิ่มเติม ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่แตกต่างไปจากการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยมีแนวการเรียนการสอนที่สำคัญดังนี้ คือ
- การสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner – Centered Approach)
- การสอนที่คำนึงถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับภาษา (Whole Language Approach)
- การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)
- การสอนที่เน้นการเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project – Based Learning)




Task Based Learning 


          การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี  และมีสุข  หลักสูตรได้ให้แนวการจัดการเรียนการสอนในแต่ละสาระการเรียนรู้ตามเอกสารคู่มือของกลุ่มสาระการเรียนรู้  ซึ่งโดยสรุปก็คือจัดการเรียนรู้โดยยึดหลัก “ผู้เรียนเป็นสำคัญ”  ตามความเชื่อที่ว่า “ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้”กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงต้องมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ  เนื้อหาสาระและกิจกรรมการการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน  มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ  กระบวนการคิด  การจัดการ และการประยุกต์ใช้ความรู้อย่างเหมาะสม  ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  ฝึกปฏิบัติ  ให้คิดเป็น  ทำได้ สาระการเรียนรู้ต้องผสมผสานทั้งด้านความรู้ในเนื้อหาสาระตามรายวิชาที่เรียน  คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม  รวมทั้งการสร้างเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 


Participatory Approaches



            การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หมายถึงผู้วิจัยมีส่วนร่วมในการวิจัยในลักษณะที่เป็นความร่วมมือกันที่ทั้งผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยต่างมีสถานะที่เท่าเทียมกันในการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติและร่วมกันประเมินผลมีรูปแบบล่างขึ้นบน จึงมีความเป็นประชาธิปไตยสูงเปรียบได้กับการใช้ทฤษฎี Y  ทฤษฎี  Maturity Organization (Selena Rezvani, M.S.W) ทฤษฎี System 4 (R. Likert and Likert 1976) เปรียบได้กับการใช้ภาวะผู้นำแบบยึดผู้ปฏิบัติเป็นศูนย์กลาง แบบมีส่วนร่วม แบบมอบอำนาจ แบบความเป็นเพื่อนหรือมุ่งคน นำเอาหลักการบริหารแบบยึดพื้นที่เป็นฐาน (Site Based Management : SBM)เป็นการนำแนวคิดและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการศึกษา กระบวนการวิจัยช่วยกันแสวงหารูปแบบของการพัฒนาหรือหาวิธีการแก้ปัญหา มีการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนเอง



Cooperative Learning




               การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือนับว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้กระบวนการกลุ่มให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์และเกิดความสำเร็จร่วมกันของกลุ่ม ซึ่งการเรียนแบบร่วมมือมิใช่เป็นเพียงจัดให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม เช่น ทำรายงาน ทำกิจกรรมประดิษฐ์หรือสร้างชิ้นงาน  อภิปราย ตลอดจนปฏิบัติการทดลองแล้ว ผู้สอนทำหน้าที่สรุปความรู้ด้วยตนเองเท่านั้น แต่ผู้สอนจะต้องพยายามใช้กลยุทธ์วิธีให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการประมวลสิ่งที่มาจากการทำกิจกรรมต่างๆ จัดระบบความรู้สรุปเป็นองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นหลักการสำคัญ (พิมพันธ์ เดชะคุปต์, 2544 :15 ) ดังนั้น การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผู้สอนจะต้องเลือกเทคนิคการจัดการเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียน และผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมที่จะร่วมกันทำกิจกรรม รับผิดชอบงานของกลุ่มร่วมกัน โดยที่กลุ่มจะประสบความสำเร็จได้ เมื่อสมาชิกทุกคนได้เรียนรู้บรรลุตามจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นคือ การเรียนเป็นกลุ่มหรือเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
               เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมากยิ่งขึ้น  ในบทนี้จะกล่าวถึง รายละเอียดของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบไปด้วย ความหมาย  วัตถุประสงค์  องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ  ความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้แบบร่วมมือกับการเรียนเป็นกลุ่มแบบดั้งเดิม  ขั้นตอนการจัดกิจกรรม  เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ  วิธีการเรียนแบบร่วมมือ  ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ เงื่อนไขการเลือกวิธีการสอนแบบต่าง ๆ  และเหตุผลของการผสมผสานการสอนแบบต่าง ๆ  และสรุปท้ายบทรวมทั้งในตอนท้ายจะมีกิจกรรมและคำถามท้ายบท


Whole Language Approach


  กระบวนการ  =  บรรยากาศการเรียนภาษาในชั้นเรียนมีลักษณะเป็นการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผนคือคิดด้วยกันว่าจะทําอะไร ทําเมื่อไร ทําอย่างไร จําเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร ใครจะช่วยทํางานในส่วนใด 
        การวางแผนจะมีทั้งแผนระยะยาว (long-range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้างๆ และแผนระยะสั้น (short-range plans)ซึ่งเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทํากิจกรรม 
            บทบาทของครูจะเป็นผู้หาวิธีการที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ 
ครูเลือกมาอ่านให้ฟัง การจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียน เพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็น การสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ ซึ่งครูไม่จําเป็นต้องสอนให้เด็กอ่านออก เช่น การอ่านแบบเรียนเล่ม เล่มที่เคยนิยมใช้มาแต่เดิม 
             การประเมินผลที่ครูพิจารณาจากการสังเกต การบันทึก การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงานถือว่าสําคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง (authentic forms of assessment) และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากกว่าการใช้แบบทดสอบทางภาษา



Multiple Intelligences

                       บรรยากาศการเรียนภาษาในชั้นเรียนมีลักษณะเป็นการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผนคือคิดด้วยกันว่าจะทําอะไร ทําเมื่อไร ทําอย่างไร จําเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร ใครจะช่วยทํางานในส่วนใด 
                  การวางแผนจะมีทั้งแผนระยะยาว (long-range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้างๆ และแผนระยะสั้น (short-range plans)ซึ่งเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทํากิจกรรม 
                  บทบาทของครูจะเป็นผู้หาวิธีการที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ 
ครูเลือกมาอ่านให้ฟัง การจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียน เพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็น การสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ ซึ่งครูไม่จําเป็นต้องสอนให้เด็กอ่านออก เช่น การอ่านแบบเรียนเล่ม เล่มที่เคยนิยมใช้มาแต่เดิม 
                   การประเมินผลที่ครูพิจารณาจากการสังเกต การบันทึก การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงานถือว่าสําคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง (authentic forms of assessment) และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากกว่าการใช้แบบทดสอบทางภาษา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น